วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

กีฬา : ไทยพรีเมียร์ลีก


      ไทยพรีเมียร์ลีก หรือ ไทยลีก หรือ TPL เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพซึ่งจัดโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเป็นลีกระดับสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลไทย มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม โดยมีการตกชั้นขึ้นชั้น สู่ลีกไทยดิวิชั่น 1 โดยไทยพรีเมียร์ลีกบริหารโดยมี 16 ทีมที่ทำการแข่งขันเป็นหุ้นส่วน โดยทำการแข่งขันระหว่างเดือน มีนาคม - ตุลาคม แต่ละทีมจะแข่งขัน 30 นัด รวมทั้งหมด 240 นัดต่อฤดูกาล ปัจจุบันมี เครื่องดื่มสปอนเซอร์เป็นผู้สนับสนุนหลัก
ทำให้มีชื่อลีกอย่างเป็นทางการว่า สปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีกโดยการแข่งขันส่วนใหญ่จะมีขึ้นในวันเสาร์ และ อาทิตย์ โดยบางเกมส์อาจะมีการแข่งขันในช่วงกลางสัปดาห์
     ก่อนที่จะมีการจัดตั้งไทยพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลระดับสูงสุดของไทยคือ ถ้วย ก โดยมีการแข่งขันตั้งแต่  พ.ศ. 2459 ถึง พ.ศ. 2538

ไทยพรีเมียร์ลีกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ(FAT) ร่วมกับ 18 ทีมที่แข่งขันใน ถ้วย ก. เดิม โดยแข่งขันในระบบ double round robin league
โดยไทยพรีเมียร์ลีกจะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 to 12 สโมสรจนกระทั่ง พ.ศ. 2550 จึงมีการเพิ่มเป็น 16 สโมสร โดยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลทีมสามอันดับสุดท้ายจะตกชั้นไปสู่ ไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ลีก
เมื่อ พ.ศ. 2550 ไทยพรีเมียร์ลีกได้ทำการรวมลีกกับโปรวินเชียลลีก โดยสโมสรฟุตบอลชลบุรี เป็นทีมแรกจากโปรวิเชียนลีกที่ได้แชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล พ.ศ. 2550
เมื่อ พ.ศ. 2552 AFC ได้มีกฏระเบียบว่าด้วยความเป็น สโมสรฟุตบอลอาชีพที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สมาคมฟุตบอลต้องจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศ ให้เป็นฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งมีดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นประธาน และได้ออกกฏระเบียบเรื่องให้สโมสรฟุตบอลอาชีพต้องดำเนินการจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลขึ้นมาดูแลสโมสร จนส่งผลให้หลายทีมองค์กรรัฐ ธนาคาร ไม่สามารถปรับตัวได้ ต้องทำการขายทีมหรือยุปทีมไป จนเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงของสโมสรไทยพรีเมียร์ลีก2009 ซึ่งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง สโมสรต่างๆ การบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต่างแข่งขันกันนำเสนอรุปแบบการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอล



รูปแบบการแข่งขัน
การแข่งขัน

มีทีมเข้าร่วมการแขง่ขันไทยพรีเมียร์ลีกทั้งหมด 16 ทีม โดยจะทำการแข่งขันในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม โดยแข่งในระบบเหย้าเยือนพบกันหมดเป็นจำนวนทีมละ 30 นัด โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม, เสมอ ได้ 1 แต้ม, แพ้ ไม่ได้แต้ม แล้วนำมาจัดอับดับโดยดูจากจำนวนแต้ม แล้วดูสถิติการพบกันตัวต่อตัว แล้วดูผลต่างประตูได้เสีย แล้วดูจำนวนประตูที่ทำได้ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลสโมสรที่อยู่อันดับสูงสุดจะได้แชมป์ไป ถ้าทีมที่เป็นแชมป์ หรือทีมที่ต้องตกชั้น มีอันดับเท่ากันทำให้เกินโค้วต้าในปีนั้น จะมีการจัดนัดเพลย์ออฟเพื่อหาทีมเป็นแชมป์ หรือตกชั้นต่อไป โดยสามทีมสุดท้ายของลีกจะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรกจากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน

อลังการงานประเพณีฟุตบอลจุฬาธรรมาสตร์

สวยงานอลังการ ฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์





ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่65 โดยในปีนี้จัดงานวันที่31มกราคม ณ.สนามศุภชลาศัย ซึ่งในปีนี้จัดงานภายใต้แนวคิด"สานต่อก่อความคิด สร้างจิตสาธารณะ"
สีสันของงานในปีนี้ยังคงอยู่ที่ เชียร์ลีดเดอร์ จากสองมหาวิทยาลัยที่มาประชันความสวยความหล่อและความสามารถกันอย่างไม่มีใครยอมใคร






ลีดเลอร์ฝ่ายจุฬลงกรณ์



ลีดเดอร์ฝ่ายธรรมศาสตร์



ส่วนกองเชียร์ของทั้งสองสถาบันเองก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะแม้แดดจะแรงเพียงใดแต่ก็ยังนั่งกันจนเต็มแสตนด์ พร้อมทั้งยังแข่งกันร้องเพลงเชียร์และแปลอักษรโต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน





ด้านขบวนพาเหรดก็อลังการงานสร้างเช่นเดิม ฝั่งจุฬามาแนวเรียบง่ายสวยงาม โดยชูด้านความจงรักภักดีต่อสถาบันและการทำตนเป็นคนดี ฝั่งธรรมศาสตร์ ขบวนล้อ การเมืองยังคงกัดเจ็บเช่นเคยแถมยังขอติดกระแส โอบามา โอบามาร์ก กับเขาด้วย




สำหรับการแข่งขันฟุตบอลผลปรากฏว่า ทีมธรรมศาสตร์เจ้าภาพเอาชนะทีมจุฬาไปได้ 2-0

คุณมี...มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ตมากน้องเพียงใด

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
คุณมีมัน....หรือไม่




อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย

ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ

ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา

เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง

ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ

ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย

เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ

เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย

ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น

ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย

ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง

ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น



2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย



ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง

ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน

ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น

ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย

ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
 

รู้หรือไม่ อินเทอร์เน็ตคืออะไร



อินเทอร์เน็ต คือ  การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา


ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน

ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)



ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

สมาชิก we are togather

            สมาชิก พวกเรา we are togather


1.นางสาวกนกวรรณ  เถียรสูงเนิน เลขที่ 1
2. นางสาวจันทร์จิรา  บากอง  เลขที่ 23
3.นางสาวธัญลักษณ์  บุตรผ่อง  เลขที่ 25
4.นางสาวศิรัญญา  อินศร  เลขที่  35
5. นางสาวสุธาสินี  บางขุนทด  เลขที่ 37
6.นางสาวสุภัทรา  มาขุนทด เลขที่ 40

             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

ละครเวทีไทย บังเทิงสร้างสรรค์สังคม

                             ละครเวทีไทยหงส์เหนือมังกร





จากละครโทรทัศน์เรื่องเยี่ยมที่กวาดทั้งรางวัล

และความนิยมมาแล้วมากมาย เมื่อปี 2543

สู่ละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่ที่ทุกคนกำลังเฝ้ารอประจำปีนี้

จากฝีมือการกำกับของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ



“หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” ละครเพลงที่จะนำผู้ชมย้อนยุคไปสู่กรุงเทพในปี 2497 ณ ย่านชุมชนชาวจีน ซึ่งในสมัยนั้นเปรียบเสมือนชนชั้นสองในเมืองไทย ด้วยสภาพชีวิตที่ต้องปากกัดตีนถีบ ทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาและอยู่ใต้อิทธิพลของเจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพล และสมาคมนอกกฎหมายที่เป็นคนจีนด้วยกัน

แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็มาเยือน เมื่อ“เจ้าพ่อ”ถูกฆ่าตายและทายาทที่ต้องขึ้นมารับมอบอำนาจ และปกครองชาวจีนในย่านนี้กลับเป็น “ผู้หญิง” ที่ตามค่านิยมของคนจีน มองว่าต้องอยู่ต่ำกว่าผู้ชาย เส้นทางชีวิตของเธอคนนี้จะสามารถแบกรับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่และ เผชิญกับการขับเคี่ยวของอำนาจ ความแค้น และความรักที่รอเธออยู่ได้หรือไม่



พบกับการประชันบทบาททั้งการร้อง และการแสดงของศิลปินคุณภาพ “แพ็ท” สุธาสินี พุทธินันทน์ นักแสดงหญิงที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นนางเอกละครเพลงแถวหน้าของเมืองไทยในบท “หลิว” ผู้หญิงที่ต้องขึ้นมาคุมอำนาจเป็น “เจ้าแม่” เหนือผู้ชายทั้งมวล ร่วมด้วย ร็อคสตาร์ชื่อดัง


แบงค์ วงแคลช กับการแสดงละครเวทีเป็นครั้งแรก ในบทบาทของ “จางเหา” อดีตมือปืน ผู้ยึดมั่นเรื่องบุญคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องชำระ และ โตโน่ เดอะสตาร์ ดาวรุ่งพุ่งแรงจากเวทีเดอะสตาร์ 6 ที่จะพลิกบทบาทมารับบทเป็น “ตี๋เล็ก” ลูกชายเจ้าพ่อ ห้าว มุทะลุ เลือดร้อน แต่อ่อนไหว พร้อมด้วยนักแสดงมากฝีมืออีกคับคั่ง


เตรียมพบกับการขับเคี่ยวระหว่างหงส์และมังกร บนเส้นทางแห่งอำนาจ การปะทะกันระหว่างความแค้นและความรัก ท่ามกลางบรรยากาศของฉาก แสง สี เสียงในแบบศิลปะจีนอันตระการตา ในละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่ประจำปีของ ซีเนริโอ “หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” 22 กันยายน 2553

การเมือง 2

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ตัวย่อ: นปช.; อังกฤษ: National United Front of Democracy Against Dictatorship; UDD) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง มีชื่อเดิมว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ[1] (ตัวย่อ: นปก.; อังกฤษ: Democratic Alliance Against Dictatorship: DAAD[2]) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 มีจุดประสงค์เดิมเพื่อขับไล่ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติภายหลังจากการรัฐประหาร แต่ได้ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร


โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน และมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และหลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติกลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 และแกนนำ 3 คน ได้แก่ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นพ.เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว จนกระทั่งรัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในอีกหลายวันต่อมา สัญลักษณ์หลักของกลุ่มคือ เสื้อแดง และสีแดง (ซึ่งเดิมได้ใช้สีเหลือง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในช่วงเริ่มการต่อสู้ ต่อมามีการใช้สีแดงในช่วงการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง) และมีการใช้เท้าตบ และหัวใจตบ เพื่อล้อเลียนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ใน พ.ศ. 2552 ทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ตัดความสัมพันธ์และแยกตัวออกจากเครือข่ายพลังประชาธิปไตยแดงสยาม โดยอ้างถึงทัศนะคติและจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน