วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

การเมือง 2

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ตัวย่อ: นปช.; อังกฤษ: National United Front of Democracy Against Dictatorship; UDD) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง มีชื่อเดิมว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ[1] (ตัวย่อ: นปก.; อังกฤษ: Democratic Alliance Against Dictatorship: DAAD[2]) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 มีจุดประสงค์เดิมเพื่อขับไล่ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติภายหลังจากการรัฐประหาร แต่ได้ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร


โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน และมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และหลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติกลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 และแกนนำ 3 คน ได้แก่ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นพ.เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว จนกระทั่งรัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในอีกหลายวันต่อมา สัญลักษณ์หลักของกลุ่มคือ เสื้อแดง และสีแดง (ซึ่งเดิมได้ใช้สีเหลือง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในช่วงเริ่มการต่อสู้ ต่อมามีการใช้สีแดงในช่วงการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง) และมีการใช้เท้าตบ และหัวใจตบ เพื่อล้อเลียนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ใน พ.ศ. 2552 ทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ตัดความสัมพันธ์และแยกตัวออกจากเครือข่ายพลังประชาธิปไตยแดงสยาม โดยอ้างถึงทัศนะคติและจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น