วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

กีฬา : ไทยพรีเมียร์ลีก


      ไทยพรีเมียร์ลีก หรือ ไทยลีก หรือ TPL เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพซึ่งจัดโดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเป็นลีกระดับสูงสุดของระบบลีกฟุตบอลไทย มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 16 ทีม โดยมีการตกชั้นขึ้นชั้น สู่ลีกไทยดิวิชั่น 1 โดยไทยพรีเมียร์ลีกบริหารโดยมี 16 ทีมที่ทำการแข่งขันเป็นหุ้นส่วน โดยทำการแข่งขันระหว่างเดือน มีนาคม - ตุลาคม แต่ละทีมจะแข่งขัน 30 นัด รวมทั้งหมด 240 นัดต่อฤดูกาล ปัจจุบันมี เครื่องดื่มสปอนเซอร์เป็นผู้สนับสนุนหลัก
ทำให้มีชื่อลีกอย่างเป็นทางการว่า สปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีกโดยการแข่งขันส่วนใหญ่จะมีขึ้นในวันเสาร์ และ อาทิตย์ โดยบางเกมส์อาจะมีการแข่งขันในช่วงกลางสัปดาห์
     ก่อนที่จะมีการจัดตั้งไทยพรีเมียร์ลีก ฟุตบอลระดับสูงสุดของไทยคือ ถ้วย ก โดยมีการแข่งขันตั้งแต่  พ.ศ. 2459 ถึง พ.ศ. 2538

ไทยพรีเมียร์ลีกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2539 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ(FAT) ร่วมกับ 18 ทีมที่แข่งขันใน ถ้วย ก. เดิม โดยแข่งขันในระบบ double round robin league
โดยไทยพรีเมียร์ลีกจะมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 to 12 สโมสรจนกระทั่ง พ.ศ. 2550 จึงมีการเพิ่มเป็น 16 สโมสร โดยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลทีมสามอันดับสุดท้ายจะตกชั้นไปสู่ ไทยแลนด์ดิวิชั่น 1 ลีก
เมื่อ พ.ศ. 2550 ไทยพรีเมียร์ลีกได้ทำการรวมลีกกับโปรวินเชียลลีก โดยสโมสรฟุตบอลชลบุรี เป็นทีมแรกจากโปรวิเชียนลีกที่ได้แชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล พ.ศ. 2550
เมื่อ พ.ศ. 2552 AFC ได้มีกฏระเบียบว่าด้วยความเป็น สโมสรฟุตบอลอาชีพที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สมาคมฟุตบอลต้องจัดตั้งบริษัทไทยพรีเมียร์ลีก ขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศ ให้เป็นฟุตบอลอาชีพอย่างแท้จริง ซึ่งมีดร.วิชิต แย้มบุญเรือง เป็นประธาน และได้ออกกฏระเบียบเรื่องให้สโมสรฟุตบอลอาชีพต้องดำเนินการจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลขึ้นมาดูแลสโมสร จนส่งผลให้หลายทีมองค์กรรัฐ ธนาคาร ไม่สามารถปรับตัวได้ ต้องทำการขายทีมหรือยุปทีมไป จนเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงของสโมสรไทยพรีเมียร์ลีก2009 ซึ่งหลังจากมีการเปลี่ยนแปลง สโมสรต่างๆ การบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น ต่างแข่งขันกันนำเสนอรุปแบบการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอล



รูปแบบการแข่งขัน
การแข่งขัน

มีทีมเข้าร่วมการแขง่ขันไทยพรีเมียร์ลีกทั้งหมด 16 ทีม โดยจะทำการแข่งขันในช่วงเดือนมีนาคม - ตุลาคม โดยแข่งในระบบเหย้าเยือนพบกันหมดเป็นจำนวนทีมละ 30 นัด โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม, เสมอ ได้ 1 แต้ม, แพ้ ไม่ได้แต้ม แล้วนำมาจัดอับดับโดยดูจากจำนวนแต้ม แล้วดูสถิติการพบกันตัวต่อตัว แล้วดูผลต่างประตูได้เสีย แล้วดูจำนวนประตูที่ทำได้ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลสโมสรที่อยู่อันดับสูงสุดจะได้แชมป์ไป ถ้าทีมที่เป็นแชมป์ หรือทีมที่ต้องตกชั้น มีอันดับเท่ากันทำให้เกินโค้วต้าในปีนั้น จะมีการจัดนัดเพลย์ออฟเพื่อหาทีมเป็นแชมป์ หรือตกชั้นต่อไป โดยสามทีมสุดท้ายของลีกจะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรกจากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน

อลังการงานประเพณีฟุตบอลจุฬาธรรมาสตร์

สวยงานอลังการ ฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์





ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่65 โดยในปีนี้จัดงานวันที่31มกราคม ณ.สนามศุภชลาศัย ซึ่งในปีนี้จัดงานภายใต้แนวคิด"สานต่อก่อความคิด สร้างจิตสาธารณะ"
สีสันของงานในปีนี้ยังคงอยู่ที่ เชียร์ลีดเดอร์ จากสองมหาวิทยาลัยที่มาประชันความสวยความหล่อและความสามารถกันอย่างไม่มีใครยอมใคร






ลีดเลอร์ฝ่ายจุฬลงกรณ์



ลีดเดอร์ฝ่ายธรรมศาสตร์



ส่วนกองเชียร์ของทั้งสองสถาบันเองก็ไม่ยอมน้อยหน้า เพราะแม้แดดจะแรงเพียงใดแต่ก็ยังนั่งกันจนเต็มแสตนด์ พร้อมทั้งยังแข่งกันร้องเพลงเชียร์และแปลอักษรโต้ตอบกันอย่างสนุกสนาน





ด้านขบวนพาเหรดก็อลังการงานสร้างเช่นเดิม ฝั่งจุฬามาแนวเรียบง่ายสวยงาม โดยชูด้านความจงรักภักดีต่อสถาบันและการทำตนเป็นคนดี ฝั่งธรรมศาสตร์ ขบวนล้อ การเมืองยังคงกัดเจ็บเช่นเคยแถมยังขอติดกระแส โอบามา โอบามาร์ก กับเขาด้วย




สำหรับการแข่งขันฟุตบอลผลปรากฏว่า ทีมธรรมศาสตร์เจ้าภาพเอาชนะทีมจุฬาไปได้ 2-0

คุณมี...มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ตมากน้องเพียงใด

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
คุณมีมัน....หรือไม่




อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ

1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย

ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ

ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น

ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา

เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง

ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ

ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย

เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ

เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต

ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย

ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น

ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย

ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่

ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง

ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น



2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย



ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง

ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น

ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้

ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน

ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น

ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย

ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
 

รู้หรือไม่ อินเทอร์เน็ตคืออะไร



อินเทอร์เน็ต คือ  การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา


ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน

ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน

ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)



ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

สมาชิก we are togather

            สมาชิก พวกเรา we are togather


1.นางสาวกนกวรรณ  เถียรสูงเนิน เลขที่ 1
2. นางสาวจันทร์จิรา  บากอง  เลขที่ 23
3.นางสาวธัญลักษณ์  บุตรผ่อง  เลขที่ 25
4.นางสาวศิรัญญา  อินศร  เลขที่  35
5. นางสาวสุธาสินี  บางขุนทด  เลขที่ 37
6.นางสาวสุภัทรา  มาขุนทด เลขที่ 40

             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

ละครเวทีไทย บังเทิงสร้างสรรค์สังคม

                             ละครเวทีไทยหงส์เหนือมังกร





จากละครโทรทัศน์เรื่องเยี่ยมที่กวาดทั้งรางวัล

และความนิยมมาแล้วมากมาย เมื่อปี 2543

สู่ละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่ที่ทุกคนกำลังเฝ้ารอประจำปีนี้

จากฝีมือการกำกับของ ถกลเกียรติ วีรวรรณ



“หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” ละครเพลงที่จะนำผู้ชมย้อนยุคไปสู่กรุงเทพในปี 2497 ณ ย่านชุมชนชาวจีน ซึ่งในสมัยนั้นเปรียบเสมือนชนชั้นสองในเมืองไทย ด้วยสภาพชีวิตที่ต้องปากกัดตีนถีบ ทำให้พวกเขาต้องพึ่งพาและอยู่ใต้อิทธิพลของเจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพล และสมาคมนอกกฎหมายที่เป็นคนจีนด้วยกัน

แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ก็มาเยือน เมื่อ“เจ้าพ่อ”ถูกฆ่าตายและทายาทที่ต้องขึ้นมารับมอบอำนาจ และปกครองชาวจีนในย่านนี้กลับเป็น “ผู้หญิง” ที่ตามค่านิยมของคนจีน มองว่าต้องอยู่ต่ำกว่าผู้ชาย เส้นทางชีวิตของเธอคนนี้จะสามารถแบกรับภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่และ เผชิญกับการขับเคี่ยวของอำนาจ ความแค้น และความรักที่รอเธออยู่ได้หรือไม่



พบกับการประชันบทบาททั้งการร้อง และการแสดงของศิลปินคุณภาพ “แพ็ท” สุธาสินี พุทธินันทน์ นักแสดงหญิงที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นนางเอกละครเพลงแถวหน้าของเมืองไทยในบท “หลิว” ผู้หญิงที่ต้องขึ้นมาคุมอำนาจเป็น “เจ้าแม่” เหนือผู้ชายทั้งมวล ร่วมด้วย ร็อคสตาร์ชื่อดัง


แบงค์ วงแคลช กับการแสดงละครเวทีเป็นครั้งแรก ในบทบาทของ “จางเหา” อดีตมือปืน ผู้ยึดมั่นเรื่องบุญคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องชำระ และ โตโน่ เดอะสตาร์ ดาวรุ่งพุ่งแรงจากเวทีเดอะสตาร์ 6 ที่จะพลิกบทบาทมารับบทเป็น “ตี๋เล็ก” ลูกชายเจ้าพ่อ ห้าว มุทะลุ เลือดร้อน แต่อ่อนไหว พร้อมด้วยนักแสดงมากฝีมืออีกคับคั่ง


เตรียมพบกับการขับเคี่ยวระหว่างหงส์และมังกร บนเส้นทางแห่งอำนาจ การปะทะกันระหว่างความแค้นและความรัก ท่ามกลางบรรยากาศของฉาก แสง สี เสียงในแบบศิลปะจีนอันตระการตา ในละครเวทีเรื่องยิ่งใหญ่ประจำปีของ ซีเนริโอ “หงส์เหนือมังกร เดอะมิวสิคัล” 22 กันยายน 2553

การเมือง 2

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน

แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (ตัวย่อ: นปช.; อังกฤษ: National United Front of Democracy Against Dictatorship; UDD) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง มีชื่อเดิมว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ[1] (ตัวย่อ: นปก.; อังกฤษ: Democratic Alliance Against Dictatorship: DAAD[2]) เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นกลุ่มผู้ต่อต้านการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 มีจุดประสงค์เดิมเพื่อขับไล่ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติภายหลังจากการรัฐประหาร แต่ได้ยุติการชุมนุมเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่พรรคพลังประชาชนได้รับเลือกเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร


โดยในภายหลังได้กลับมารวมตัวกันอีก เพื่อต่อต้านพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 จนเกิดเหตุการณ์ปะทะกัน และมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ และหลังการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติกลับมาชุมนุมเคลื่อนไหวครั้งใหญ่เพื่อขับไล่รัฐบาล ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 จนเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรง และยกกำลังทหารปิดล้อมผู้ชุมนุม จนต้องยุติการชุมนุมเมื่อ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 และแกนนำ 3 คน ได้แก่ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และ นพ.เหวง โตจิราการ ถูกควบคุมตัว จนกระทั่งรัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในอีกหลายวันต่อมา สัญลักษณ์หลักของกลุ่มคือ เสื้อแดง และสีแดง (ซึ่งเดิมได้ใช้สีเหลือง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในช่วงเริ่มการต่อสู้ ต่อมามีการใช้สีแดงในช่วงการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่าง) และมีการใช้เท้าตบ และหัวใจตบ เพื่อล้อเลียนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ใน พ.ศ. 2552 ทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติได้ตัดความสัมพันธ์และแยกตัวออกจากเครือข่ายพลังประชาธิปไตยแดงสยาม โดยอ้างถึงทัศนะคติและจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน

การเมือง



พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

                     พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (อังกฤษ: People's Alliance for Democracy, PAD) หรือเรียกว่า กลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อเหลือง เป็นกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในช่วง พ.ศ. 2548-2552 โดยเป็นการรวมตัวจากหลายองค์กรทั่วประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากหลายฝ่าย ภายใต้จุดประสงค์ในการขับไล่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และแสดงความต้องการให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอย่างเปิดเผย[1] กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีแกนนำคนสำคัญ ได้แก่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง




   สัญลักษณ์หลักของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีการใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์หลัก และมีการใส่เสื้อสีเหลืองพร้อมผ้าโพกศีรษะที่มีข้อความว่า "กู้ชาติ" และผ้าพันคอสีฟ้า และมีมือตบเป็นเครื่องมือสัญลักษณ์


   ในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการเคลื่อนไหวของฝ่ายซึ่งมีความเห็นว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ควรออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล จนกระทั่งลงเอยด้วยเหตุการณ์รัฐประหาร ส่งผลให้ฝ่ายทหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก้าวขึ้นสู่อำนาจ และเข้ามามีบทบาททางการเมือง ส่งผลให้ไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. 2549-2550

   

 ต่อมาผลการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 พรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเกี่ยวข้องทางผลประโยชน์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ชนะการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลผสม ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเคยดำเนินการเคลื่อนไหวก่อนเหตุการณ์รัฐประหาร กลับมาชุมนุมอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 เพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวชและนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้มีการปิดล้อมท่าอากาศยานนานาชาติหลายแห่ง จนกระทั่งเที่ยวบินทุกเที่ยวหยุดทำการนั้น นายเกษม พันธ์รัตนมาลา นักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะสูญเสียเงินกว่า 4,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐจากการปิดสนามบินครั้งนี้ อันส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล


     ภายหลังจากมีคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลอีก 2 พรรค อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ในวันรุ่งขึ้นแกนนำพันธมิตรฯ ได้ประกาศยุติการชุมนุมทั้งที่ทำเนียบรัฐบาล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง


     คณะกรรมมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ระบุว่าเจตนาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีลักษณะของฟาสซิสต์[5] ต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจแบบประชานิยมและนโยบายการกระจายอำนาจทางการเมืองออกจากศูนย์กลาง รวมทั้งโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่าไม่จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์[6][7][8] และเปิดโอกาสให้นายทหารและข้าราชการระดับสูงมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น

บันเทิงไทย สร้างสรรค์สังคม

               กัน เดอะสตาร์ นำทีมศิลปินแกรมมี่รับรางวัลลูกกตัญญู




         ศิลปินดังคว้ารางวัล “รางวัลส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมความกตัญญูกตเวที ลูกกตัญญู แม่ดีเด่น” ในโอกาสวันแม่แห่งชาติ จัดโดย วิทยาลัยพุทธศาสตร์และปรัชญาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้พิจารณามอบรางวัลดังกล่าวให้กับ ศิลปินบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) อาทิ กัน เดอะสตาร์-นภัทร อินทร์ใจเอื้อ, พี สะเดิด – พีรพัฒน์ สวัสดิ์มูล, ตั๊กแตน-ชลดา ทองจุลกลาง , สน เดอะสตาร์ , เตชินท์ ชยุติ, กงจักร กฤติน(ไมค์ไอดอล)


นอกจากนี้ยังมีนักแสดงชื่อดัง อาทิ วิน-ธาวิน เยาวพลกุล และ กบ-พิมลรัตน์ พิศลยบุตร เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะในการดำรงตนอยู่ในศีลธรรม ดูแลเอาใจใส่และปฏิบัติต่อแม่เป็นอย่างดี ช่วยเหลือภารกิจและการงานของแม่ ประพฤติตนตามคำสั่งสอนและบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยศิลปินพร้อมด้วยคุณแม่จะเข้ารับประทานโล่รางวัลจากพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมความกตัญญูกตเวที ณ หอประชุมพิฆเนศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บางเขน



กัน เดอะสตาร์ เปิดเผยว่า “ผมรู้สึกภาคภูมิใจมากครับที่ได้รับคัดเลือกเป็นลูกกตัญญู ขอขอบพระคุณคณะกรรมการทุกท่านที่พิจารณามอบรางวัลนี้ให้กับผม ถือเป็นข่าวดีมากๆต้อนรับวันแม่เลยนะครับ ความกตัญญูเป็นหน้าที่ของลูกทุกคนที่ต้องตอบแทนพระคุณที่ยิ่งใหญ่ของแม่ สิ่งที่ผมได้รับในวันนี้เป็นเพราะมีคุณแม่ที่รักและเอาใจใส่ คอยอบรมสั่งสอนเป็นอย่างดีครับ”

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวในโคราช : วัดบ้านไร่

วัดบ้านไร่

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นพระเกจิชื่อดัง เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย หลวงพ่อคูณเป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ ในแต่วันมีผู้ศรัทธาพากันมากราบนมัสการอย่างเนืองแน่น


ที่ตั้งและการเดินทาง
ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด รถยนต์ส่วนตัว จากอำเภอด่านขุนทดให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 ไปทางอำเภอบำเน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ประมาณ 11 กม.จะเห็นซุ้มประตูวัดทางขวามือชัดเจน เลี้ยวเข้าไปอีกราว 1 กม.จะถึงที่ตั้งวัด ถ้ามาจากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงหมายเลข 2 ขับผ่านอำเภอปากช่องถึงอำเภอสีคิ้ว เลี้่ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 201ขับตรงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด


ประวัติวัดบ้านไร่ :
เดิมเป็นสำนักสงฆ์ที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมี พระอาจารเชื่อม วิรโช เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ได้มีการสร้างศาสนอาคารต่างๆขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธเป็นเจ้าอาวาสได้มีการพัฒนาวัดมากที่สุด โดยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศ ได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อคูณได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เช่นการบูรณะวัด การสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

สิ่งที่น่าสนใจ : นมัสการหลวงพ่อคูณ

วันละสองครั้ง 10.00-11.00 น.,14.00-17.00 น.ในแต่วันจะมีผู้ศรัทธานับพันคนมาเฝ้ารอกราบนมัสการและถวายวัตถุปัจจัย พร้อมทั้งขอพรจากหลวงพ่อคูณโดยให้ท่านเคาะหัวจนเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพ่อคูณไปแล้ว วัตถุปัจจัยที่หลวงพ่อคูณได้รับจากชาวบ้านโดยเฉพาะเงินนั้นท่านจะคืนบางส่วนแก่ผู้ถวาย เพื่อนำไปเป็นขวัญถุงในการทำมาหากินต่อไป และเงินทองทรัพย์สินที่มีผู้ถวายมานั้นท่านก็จะนำไปพัฒนาชุมชนย่านด่านขุนทด โดยสร้างโรงเรียน โรงพยาบาลจัดตั้งมูลนิธิเพื่อผู้ยากไร้ในชุมชน จนได้ชื่อว่าเป็นพระที่ทำการบริจาคมากที่สุด วัตรปฏิบัติของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ
เนื่องในโอกาสที่ท่านมีสิริอายุครบ 7 รอบ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2550 คณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนได้ดำริที่จะจัดสร้าง


พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณปริสุทฺโธ

ความเป็นมาและประวัติ

"พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณปริสุทฺโธ" เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความศรัทธาและบารมีทานอันยิ่งใหญ่ของพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่และพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของมหาชนทั่วทุกสารทิศ
โดยคณะศิษยานุศิษย์หวังว่า พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของวัดบ้านไร่ที่ได้จารึกตำนานของหลวงพ่อคูณ เพื่อเป็นแบบอย่างให้สาธุชนได้เจริญรอยตามปณิธานแห่งทาน บารมีของหลวงพ่อคูณให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

นายประจักษ์ สุวรรณภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะประธานมูล นิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ และว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์ สุวรรณฉวี รองประธานประธานมูล นิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ และคณะกรรมการมูลนิธิหลวงพ่อคูณ คณะศิษย์และชาวเมืองโคราชทุกคนรู้สึกภูมิใจกับงานพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณครั้งนี้ สำหรับเป็นอนุสรณ์สถานและอุทยานธรรมแก่อนุชนคนรุ่นหลังได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติและศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อนำเสนอเรื่องราวชีวประวัติของหลวงพ่อคูณ ตั้งแต่เยาว์วัย การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ วัตรปฏิบัติในสมณเพศ

2. เพื่อนำเสนอธารบารมีของพลวงพ่อคูณ ซึ่งก่อสาธารณประโยชน์ให้แก่ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและบางส่วนในต่างประเทศ

3. เพื่อรวบรวมคำสอนของหลวงพ่อคูณที่ได้เทศนาให้แก่ประชาชนในมิติต่างๆ

4. เพื่อนำเสนอกิจวัตรของหลวงพ่อคูณในมิติต่างๆ อาทิ หลวงพ่อคูณกับธรรมะ หลวงพ่อคูณกับพระบรมสานุวงศ์ พลวงพ่อคูณกับพระนักพัฒนา เป็นต้น

5. เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความศรัทธา และบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ที่หลวงพ่อคูณได้ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการสืบสานบารมีทานของหลวงพ่อคูณให้แก่สาธารณชนได้รับรู้ และยึดถือ


รูปแบบของพิพิธภัณฑ์
รูปแบบของพิพิธภัณฑ์ได้สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ของหลวงพ่อคูณ ผ่านภาพจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้น บอกเล่าภาพชีวิตในอดีต จำลองบรรยากาศการออกธุดงค์ของหลวงพ่อคูณ แสดงให้เห็นถึงบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ ประติมากรรมที่สื่อถึงผลบุญของการให้ทานอันเป็นวัตรปฏิบัติสำคัญของหลวงพ่อ มหาทานของหลวงพ่อคูณที่ได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาล เพื่อสาธารณประโยชน์
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากมาย ซึ่งผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย อัฐบริขารและเครื่องใช้จำเป็นในการครองสมณเพศ นำมารวบรวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์

การออกแบบพิพิธภัณฑ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าหลวงพ่อคูณ เป็นพระเกจิชื่อดังแห่งด่านขุนทด เป็นพระที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ดังนั้นการรังสรรค์ตัวอาคารและภายในพิพิธภัณฑ์ จะสื่อออกมาให้คนที่เข้ามาชมได้เห็นมิติแห่งพลังความเมตตาของหลวงพ่อคูณ สถาปัตยกรรมที่นำเสนอ จึงเน้นถึงความสงบเรียบง่ายเป็นหลัก วัสดุที่ใช้เรียบง่ายให้เหมาะสมกับการดำรงสมณเพศของท่าน แฝงด้วยหลักธรรม ประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ผู้ที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์จะได้รับทราบข้อมูลในทุกแง่มุมของหลวงพ่อคูณได้อย่างลึกซึ้ง

โดยสถาปัตยกรรมที่เราได้ออกแบบ เป็นสถาปัตยกรรมยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิชื่อดังรูปหนึ่งแห่งยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยให้การยกย่องและเลื่อมใสศรัทธายิ่ง

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ แบ่งเป็น 2 ชั้น 11 โซน ประกอบด้วย

โซน 1 ศรัทธามหาชน จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อคูณท่านั่งยองๆ ขนาดเท่าจริง มีภาพจิตรกรรมและแสดงภาพประชาชนจากภาคต่างๆ มากราบนมัสการหลวงพ่อ มีบอร์ดกราฟิกเรื่อง เอกลักษณ์หลวงพ่อคูณ อาทิ การนั่งยอง รับปัจจัยใบเดียว เหยียบโฉนด เคาะหัว วัตถุมงคล เป็นต้น

โซนที่ 1



โซน 2 ภิกษุสมถะแห่งดินแดนอีสาน จัดแสดงสิ่งของจำลองบรรยากาศเหมือนห้องนอนเดิมของหลวงพ่อ พร้อมเสียงบรรยาย มีบอร์ดเล่าเรื่อง "ธรรมะข้างบันได" และภาพแสดงในหัวข้อ เทพเจ้าแห่งที่ราบสูง แบบอย่างของผู้บำเพ็ญทานบารมี





โซนที่ 2



โซน 3 กำเนิดผู้มีบุญ จัดแสดงหุ่นจำลอง ประกอบเทคนิคแสงเสียง ตอนโยมแม่ฝันเห็นดวงแก้ว อันเป็นนิมิตหมายอันดีของผู้มีบุญที่กำลังจะถือกำเนิด และภาพจิตรกรรม กำเนิดผู้มีบุญ

โซน 4 ตั้งจิตช่วยคนพ้นทุกข์ จัดแสดงภาพจิตรกรรมเมื่อครั้งที่หลวงพ่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และตั้งจิตปณิธานช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์


โซนที่ 4



โซน 5 ออกธุดงค์ จัดแสดงหุ่นจำลองย่อส่วนประกอบเทคนิคภาพเคลื่อนไหวและแสงเสียง จำลองเหตุการณ์เทศนาโปรดสัมภเวสี เมื่อครั้งออกธุดงค์ ในช่วงปี พ.ศ.2492-2495 และบอร์ดกราฟิก "จาริกบุญ จาริกธรรม" นำเสนอเรื่องเส้นทางธุดงค์ 3 ประเทศ ไทย-ลาว-เขมร

โซนที่ 5



โซน 6 พัฒนาวัดบ้านไร่ จัดแสดงหุ่นจำลองย่อส่วน 4 เหตุการณ์ ได้แก่ หลวงพ่อคูณสร้างโบสถ์ไม้เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระลูกวัด, หลวงพ่อคูณนำชาวบ้านขุดสระน้ำเพื่อเป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง, หลวงพ่อคูณปีนขึ้นเจิมป้ายโรงเรียนวัดบ้านไร่เพื่อความเป็นสิริมงคล และหลวงพ่อคูณใช้ยอดสากตำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ นำมาสร้างพระเครื่องให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชา มีบอร์ดแสดงภาพของการพัฒนาวัดบ้านไร่


โซนที่ 6

โซน 7 ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัว ประมวลภาพพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดแสดงวัตถุอันเป็นที่ระลึก วีดิทัศน์ประมวลภาพพระมหากรุณาธิคุณ
โซนที่ 7

โซน 8 มรดกทาน มรดกธรรม จัดแสดงรูปหล่อสำริดหลวงพ่อคูณท่านั่งวิปัสสนา การจัดแสดงวัตถุอันเป็นที่ระลึกถึงคุณูปการ เกียรติคุณของหลวงพ่อคูณที่ได้รับการเชิดชูยกย่องจากหน่วยงาน สถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งข้อความในพินัยกรรม (มรณานุสติ)



โซนที่ 8



โซน 9 ทานบารมีทวีคูณ แสดงงานกราฟิกบนประติมากรรมต้นไม้แห่งทานบารมี วีดิทัศน์ประมวลภาพคอมพิวเตอร์ แสดงข้อมูลเรื่องการบริจาคทานของหลวงพ่อคูณในด้านต่างๆ

โซนที่ 9



โซน 10 เครื่องยึดเหนี่ยวใจใฝ่ทำดี มีตู้จัดแสดงวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ คอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้า สำหรับให้ผู้ชมได้อ่านข้อมูลวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้

โซนที่ 10


โซน 11 ให้แล้วรวย จัดแสดงวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญทำทาน ซึ่งเป็นภาพที่พบเห็นคุ้นตาในวิถีชีวิตของคนไทยเมื่อไปทำบุญ สอดแทรกคำสอนของหลวงพ่อคูณที่พูดถึงการทำบุญมาเป็นประโยคปิดท้ายในแต่ละช่วง ประติมากรรมต้นไม้แผ่ความรวย สื่อความหมายถึงการงอกงามของบุญกุศลที่ผู้มีจิตศรัทธาทุกคนได้ร่วมสร้างกับหลวงพ่อคูณ นอกจากนี้ ได้จัดแสดงผนังภาพ "๙ บุญคูณลาภ" แนะนำจุดทำบุญภายในวัดบ้านไร่ 9 แห่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากได้ชมพิพิธภัณฑ์แล้ว และตู้หยอดเหรียญที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์

โซนที่ 11

   หลังจากได้ชมพิพิธภัณฑ์แล้ว ผู้เข้าชมสามารถแลกเหรียญและนำไปหยอดตู้หยอดเหรียญที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์ เพื่อเก็บเป็นที่ระลึกเป็นสิริมงคล รายได้ทั้งหมดใช้ในการบำรุงกิจการของพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ จากนั้น ลองมาประลองความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของหลวงพ่อคูณที่เราได้ชมในพิพิธภัณฑ์มาเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเกมตามรอยธรรมหลวงพ่อคูณ มีคำถามทดสอบความจำและความเข้าใจเรื่องราวทั้งหมด ถ้าตอบถูกแต่ละข้อจะได้รับคติธรรมและคำพรจากหลวงพ่อคูณ

สุดท้าย หลังจากที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณเสร็จแล้ว หากมีเวลาพอยังสามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณได้ที่ศาลาโบสถ์วัดบ้านไร่ และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆในวัดบ้านไร่ได้ตามอัธยาศัย
พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณแห่งนี้ รวบรวมวิถีปฏิบัติ แนวคิด คำสอนของหลวงพ่อคูณไว้ครบถ้วน เพื่อเป็นต้นแบบให้สาธุชนได้ศึกษาและเจริญรอยตามปณิธานแห่งทานบารมีของหลวงพ่อคูณไปตราบกาลนาน

สถานที่ท่องเที่ยวในโคราช : ปราสาทหินพิมาย

     ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทขอมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา (โคราช) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ด้วยศิลปะแบบปาปวนเช่นเดียวกับปราสาทหินพนมวัน และปราสาทหินพนมรุ้ง แต่แตกต่างกันตรงที่ปราสาทหินพิมายจะหันหน้าไปยังทิศใต้คือประเทศเขมร หน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ปราสาทจะมี พลับพลา ซึ่งเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นที่เตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงเพื่อที่จะเปลี่ยนเครื่องทรงและจัดของสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในปราสาท เดิมเรียกว่า คลังเงิน เพราะได้ขุดพบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก ทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับและเหรียญสำริดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์จะเริ่มต้นที่ สะพานนาคราช ซึ่งทำเป็นรูปพญานาคเจ็ดเศียรแผ่พังพานอยู่เพื่อนำไปสู่ ซุ้มประตู หรือ โคปุระ และ กำแพงแก้ว เมื่อเดินผ่านกำแพงแก้วแล้วก็จะถึง ชานชาลา ซึ่งเป็นทางเดินที่ก่อสร้างด้วยหินทรายเป็นเส้นทางนำไปสู่ ระเบียงคด ซึ่งมีซุ้มประตูอยู่ตรงกลางเช่นเดียวกับกำแพงแก้ว จากนั้นก็จะถึง ปราสาทประธาน หอพราหมณ์ ปรางค์หินแดง และ ปรางค์พรหมทัต โดยที่ทับหลังหรือหน้าบันของปราสาทประธานทางด้านทิศใต้ (ด้านหน้าปราสาท) จะเป็นรูป ศิวนาฏราช ส่วนทางด้านทิศอื่นๆ จะเป็นภาพเรื่องเล่าจาก รามเกียรติ์ และเรื่องราวทาง พุทธศาสนา และภายในห้อง ครรภคฤหะ จะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ที่สำคัญของภูมิภาค มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับเมืองสำคัญทางตอนเหนือของลาวและทางตอนใต้ของขอม เมื่อชมปราสาทหินพิมายแล้วควรแวะชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ซึ่งจัดเก็บโบราณวัตถุสำคัญจากปราสาทแห่งนี้ไว้ พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กัน

ประวัติความเป็นมา


สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคที่อาณาจักรขอมแผ่อิทธิพลมายังภูมิภาคนี้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงรัชกาลสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรขอม ในปี พ.ศ. 2479 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติและเริ่มบูรณะในปี พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2497 กรมศิลปากรได้บูรณะองค์ปรางค์ประธานอีกครั้ง โดยได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศส จนแล้วเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2507-2512 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 กำหนดให้เมืองโบราณพิมายและปราสาทหินพิมายเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในปี พ.ศ. 2529 โดยมีการอนุรักษ์และบูรณะเป็นอย่างดี


ที่ตั้ง
อ. พิมาย ห่างจากตัวเมืองโคราชราว 60 กม.

สิ่งน่าสนใจภายในปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนครซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม. ยาว 1,030 ม. ล้อมรอบด้วยคูน้ำ มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหินมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้
ปราสาทหินพิมาย หันหน้าไปทางทิศใต้ไปทางที่ตั้งของเมืองพระนครซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม ปราสาทหินพิมายมีแบบแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 565 ม. ยาว 1,030 ม. ล้อมรอบด้วยคูน้ำ มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในบริเวณปราสาทหินมีโบราณสถานที่น่าสนใจหลายแห่งโดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าตามลำดับดังนี้


คลังเงิน

จากประตูชัยเข้าไปก่อนถึงตัวปรางค์ จะเห็นคลังเงินตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก หรือทางด้านซ้ายมือ ปัจจุบันอาคารคลังเงินเหลือเพียงซากฐานขนาดใหญ่ เหตุที่เรียกอาคารหลังนี้ว่า "คลังเงิน" เพราะเคยพบเหรียญสำริดโบราณซึ่งด้านหนึ่งเป็นรูปครุฑหรือหงส์ อีกด้านหนึ่งเป็นอักษรโบราณ นอกจากนี้ยังพบทับหลังจำหลักเป็นรูปคนกำลังหลั่งน้ำมอบม้าแก่พราหมณ์

สะพานนาค

เป็นทางที่ทอดนำเข้าสู่ตัวปรางค์ มีนาคทอดตัวยาวเป็นราวบันได ชูเศียรทั้งเจ็ดแผ่พังพานเปล่งรัศมีอย่างสวยงาม นาคเป็นสัตว์มงคลที่มักพบตามโบราณสถาน ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์ซึ่งเชื่อว่านาคทอดร่างเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ที่เชิงบันไดนาคทั้งสองข้างมีสิงห์จำหลักจากหินประดับอยู่ข้างละตัว สิงห์มีท่าทางองอาจเสมือนเป็นผู้พิทักษ์โบราณสถาน ลักษณะทางศิลปกรรมของสิงห์และนาคนี้ คล้ายศิลปะที่นครวัดที่สร้างในช่วงรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-1688)

 ซุ้มประตู หรือโคปุระชั้นนอก

มีทั้งหมดสี่ด้านอยู่กึ่งกลางแนวกำแพง ลักษณะการสร้างเหมือนกันทุกด้านคือมีขนาดกว้างสามคูหามีเสาศิลา ช่องลมประดับข้างละสองช่อง เคยพบทับหลังชิ้นหนึ่งที่โคปุระด้านทิศตะวันตก สลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกประดิษฐานบนคานหาม ทับหลังชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย

พระระเบียง

เมื่อมาถึงระเบียงก็ถือว่าเข้าสู่เขตชั้นในของปราสาทหินแล้ว พระระเบียงแต่ละด้านมีซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นในอยู่กึ่งกลาง ที่น่าสนใจคือที่กรอบประตูด้านทิศใต้มีจารึกบนแผ่นหิน เป็นอักษรเขมรโบราณกล่าวถึงการสร้างเมืองพิมาย และการสร้างรูปเคารพ จากพระระเบียงจะเข้าสู่ชั้นในซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปราสาทหินพิมาย มีปรางค์สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ประธาน ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง

ปรางค์ประธาน

มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวนปรางค์ทั้งสามองค์ สร้างขึ้นช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทขอมแห่งอื่น ๆ ที่มักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าหันไปยังที่ตั้งเมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางอำนาจของขอมในอดีต บ้างก็ว่าเป็นคติทางพุทธศาสนาที่ถือทิศใต้เป็นทิศแห่งการมีชีวิต
องค์ปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสูงสองชั้นสลักลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายประจำยาม ลายกลีบบัวอย่างสวยงาม ก่อด้วยหินทรายสีขาวทำเป็นชั้นซ้อนกันขึ้นไปห้าชั้น ที่ส่วนยอดจำหลักเป็นรูปครุฑแบกทั้งสี่ทิศ เหนือขึ้นไปสลักเป็นรูปเทพประจำทิศต่าง ๆ และรูปดอกบัว นับเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ต่างจากปราสาทหินที่พบทั่วไป

จากองค์ปรางค์ประธานมีมุขเชื่อมต่อกับห้องรูปสี่เหลี่ยมทางด้านทิศใต้หรือด้านหน้า ทำให้ภายในปรางค์ดูกว้างขวาง
ทับหลังและหน้าบันที่ประดับองค์ปรางค์ประธานส่วนใหญ่เล่าเรื่องรามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่น หน้าบันด้านทิศใต้ หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าในองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฏราช หรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่า ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า เมื่อใดที่พระศิวะฟ้อนรำผิดจังหวะ เมื่อนั้นโลกก็จะเกิดกลียุค นอกจากนี้ยังมีทับหลังที่จำหลักภาพอันเป็นหลักฐานสำคัญ ว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา คือภาพพุทธประวัติตอน "มารวิชัย" และพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน


 ปรางค์พรหมทัต

ก่อด้วยศิลาแลง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1761) เมื่อคราวที่พระองค์ทรงบูรณะปราสาทหินพิมาย ภายในปรางค์พบประติมากรรมศิลารูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ชาวบ้านเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นพระบรมรูปของพระเจ้าชัย-วรมันที่ 7 และพบรูปผู้หญิงนั่งคุกเข่าที่ชาวบ้านเรียกว่า นางอรพิมพ์ ในตำนานอรพิมพ์ ปาจิตต ซึ่งเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น จนกลายเป็นชื่อบ้านนามเมืองในย่านเมืองพิมาย ประติมากรรมที่พบดังกล่าวสภาพไม่สมบูรณ์ ปัจจุบันนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

ปรางค์หินแดง

ตั้งอยู่ด้านขวาของปรางค์ประธาน ก่อด้วยหินทรายสีแดง มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย และได้พบศิวลึงค์ในหอพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ติดกับปรางค์หินแดงถึงเจ็ดองค์ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์

บรรณาลัย

เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ตั้งอยู่ใกล้ซุ้มประตูทิศตะวันตก นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นที่เก็บรักษาตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นที่ประทับของกษัตริย์เมื่อเสด็จมาทรงประกอบพิธีกรรม

สระน้ำ หรือบาราย

โบราณสถานเขมรมักมีสระน้ำ หรือที่ภาษาเขมรเรียกว่าบาราย อยู่คู่กันแทบทุกแห่ง เป็นสระที่ขุดขึ้นเพื่อเก็บกักน้ำไว้อุปโภคบริโภค บางคนก็เชื่อว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม บริเวณเมืองพิมายมีบารายอยู่หลาย แห่งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง คือ สระแก้ว สระพรุ่ง และสระขวัญ นอกเขตกำแพงเมืองคือสระเพลง อยู่ทางทิศตะวันออก สระโบสถ์ อยู่ทางทิศตะวันตก


 ประตูชัย

เป็นหนึ่งในประตูเมืองซึ่งมีอยู่ทั้งสี่ทิศ ประตูชัยอยู่ทางด้านทิศใต้ของปราสาทหินพิมายรับกับถนนโบราณที่ทอดตรงมาจากเมืองพระนครในเขมร มีแผนผังการก่อสร้างเหมือนกันทุกประตู คือเจาะเป็นช่องสูงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง ด้านข้างทั้งสองด้านของประตูมีห้องอยู่สามห้อง เทคนิคการสร้างประตูเมืองนี้บ่งบอกว่าอยู่ในยุคสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้สันนิษฐานได้ว่าประตูเมืองคงได้รับการสร้างเพิ่มเติมขึ้นภายหลังในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

กุฏิฤาษี

บริเวณที่ตั้งกุฏิฤาษีเป็นจุดสิ้นสุดของถนนโบราณที่มีต้นทางจากเมืองพระนครในเขมร แต่ไม่เหลือร่องรอยถนนไว้ให้เห็นเพราะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน กุฏิฤาษีเชื่อว่าเป็นอโรคยาศาลสร้างขึ้นช่วงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองแห่งอาณาจักรขอม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอโรคยาศาลตามเส้นทางโบราณไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันนี้เหลือให้เห็นเพียงซากกำแพงศิลาแลงกับปราสาทเท่านั้น

 ท่านางสระผม

เป็นโบราณสถานนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่ริมลำน้ำเค็มทางทิศใต้ของเมือง เดิมทีเป็นเพียงเนินดินใหญ่ที่มีเศษภาชนะดินเผาและเศษกระเบื้อง กระทั่งได้รับการขุดแต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 จึงพอเห็นรูปรอยว่าเป็นอาคารทรงกากบาทก่อด้วยศิลาแลงมีฐานเป็นชั้น ๆ และพบร่องรอยหลุมขนาดเล็กอยู่ที่มุมอาคารทุกจุด นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าคงเป็นศาลาจัตุรมุข ซึ่งเป็นท่ารับเสด็จเจ้านายทางฝั่งพิมาย เพราะเป็นท่าน้ำแห่งเดียวที่อยู่ในแนวถนนโบราณห่างจากท่านางสระผมไปเล็กน้อยมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 200 ม. ยาว 400 ม. เรียกว่าสระช่องแมว แต่ไม่ปรากฏเรื่องราวว่ามีความสำคัญใด